Friday, June 4, 2010

Easy Chord-4 ทางเดินคอร์ด และ bVII


เรียนกีต้าร์ด้วยเพลง-สอนกีต้าร์ด้ออนไลน์
อีซี่คอร์ด-4 ทางเดินคอร์ด และ bVII

สวัสดีครับ เพื่อนๆ วันนี้จะมาแนะนำ วิธีการเปลี่ยนทางเดินคอร์ด
จากคอร์ดหนึ่งส่งไปอีกคอร์ดหนึ่ง เรียกว่าทางเดินคอร์ด
เราสามารถกำหนดลักษณะและอารมณ์ของเพลงได้
โดยใช้วิธีเปลี่ยนแปลงทางคอร์ด
เพลง Re-mix ทั้งหลาย, มักจะเปลี่ยนคอร์ดเสมอ

ทางเดินคอร์ดก็ไม่ใช่เรื่องยาก ดูวิดีโอชุดนี้แล้วคุณก็จะเข้าใจเอง
เนื้อหาทั้งหมด ทำเป็น 2 ภาษา ไทยและจีนนะครับ
ลิขสิทธิ์ของ พีพีเคมีวสิก แชร์ให้กับเพื่อนๆครับผม

ข้อมูลทั้งหมดดูได้ที่บล็อกของ ppkmusic
------------------------------------------------------------------------------------------
โฟกัสการเรียน:
1. คอร์ดในสเกล            I, ii, iii, IV, V, vi, vii-
2. ทางเดินคอร์ดหลัก      I, IV, V
3. การใช้คอร์ดรองแทน   ii, iii, vi, vii-
4. คอร์ดนอกสเกล         bVII (คอร์ดแฟลต7)
------------------------------------------------------------------------------------------
อธิบายข้อที่ 1
คอร์ดในคีย์ มีทั้งเมเจอร์และไมเนอร์
ได้แก่ I, ii, iii, IV, V, vi, vii- เรียงตามสเกล (Scale)
คอร์ดที่เป็นอักษรดัวใหญ่ I, IV, V
เป็นคอร์ดหลัก (Primary Chord) เรียกว่าคอร์ดเมเจอร์
คอร์ดที่เป็นอักษรดัวเล็ก ii, iii, vi, vii-
เป็นคอร์ดรอง (Secondary Chord) เรียกว่าคอร์ดไมเนอร์
คอร์ดหลักกับคอร์ดรอง สามารถสลับแทนกันได้ถ้าถูกวิธี
ก็เป็นจุดสำคัญของการเรียนในวิดีโอชุดนี้
------------------------------------------------------------------------------------------
อธิบายข้อที่ 2
ทางเดินคอร์ดหลักๆ ใช้คอร์ดเมเจอร์ (Major) 3 ต้วเท่านั้น
ได้แก่ I-IV-V (คอร์ด1, คอร์ด4, คอร์ด5) (โด ฟา ซอล)
ขออนุญาตเลือกใช้เพลง พี่ชายที่แสนดี มาอธิบาย
เอาแค่ท่อนแรก 4 ห้อง ทางเดินคอร์ดง่าย ๆ I-V-I-V ดังนี้

   I(A)      V(E)      I(A)     V(E)
E |----0----|----0----|----0----|----0----|
B |----2----|----0----|----2----|----0----|
G |----2----|----1----|----2----|----1----|
D |----2----|----2----|----2----|----2----|
A |----0----|----2----|----0----|----2----|
E |----0----|----0----|----0----|----0----|
------------------------------------------------------------------------------------------
อธิบายข้อที่ 3
กรณีที่เรา ล๊อคเมโลดี้ให้ตายตัว, คอร์ดห้องที่ 1 และ 4 ก็ ฟิก (fix) ไว้,
เหลือห้องที่ 2 และ 3, เราเเอามาศึกษาเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่าง คอร์ด กับ เมโลดี้"
ถ้าเราเอาคอร์ดไมเนอร์ไช้แทนในห้องที่ 2 หรือห้องที่ 3
การส่งคอร์ดของเพลงนี้ ทำได้ 3 แบบ

การส่งคอร์ดแบบที่ 1: เปลี่ยนแค่คอร์ดห้องที่ 3
เมโลดี้ของห้องที่ 3 เสียงแรกคือ ซอล(Sol)
คอร์ดที่มีเสียง ซอล ได้แก่ คอร์ดI(do mi sol), V(sol ti re), iii(mi sol ti)
เราก็สามารถใช้คอร์ด iii มาแทน กลายเป็น I-V-iii-V ดังนี้

   I(A)      V(E)     iii(C#m)   V(E)
E |----0----|----0----|----0----|----0----|
B |----2----|----0----|----2----|----0----|
G |----2----|----1----|----1----|----1----|
D |----2----|----2----|----2----|----2----|
A |----0----|----2----|----x----|----2----|
E |----0----|----0----|----x----|----0----|
------------------------------------------------------------------------------------------
การส่งคอร์ดแบบที่ 2: เปลี่ยนแค่คอร์ดห้องที่ 2
เมโลดี้ของห้องที่ 2 เสียงแรกคือ เร (re)
คอร์ดที่มี เร ได้แก่ ii(re fa la), V(sol ti re), vii-(ti re fa)
เราก็สามารถใช้คอร์ด ii มาแทน กลายแป็น I-ii-I-V ดังนี้

   I(A)      ii(Bm)    I(A)     V(E)
E |----0----|----2----|----0----|----0----|
B |----2----|----3----|----2----|----0----|
G |----2----|----4----|----2----|----1----|
D |----2----|----4----|----2----|----2----|
A |----0----|----2----|----0----|----2----|
E |----0----|----x----|----0----|----0----|
------------------------------------------------------------------------------------------
การส่งคอร์ดแบบที่ 3:
เปลี่ยนคอร์ดทั้ง 2 ห้อง จากเดิม คอร์ด I-V-I-V กลายแป็น คอร์ด I-ii-iii-V

   I(A)      ii(Bm)   iii(C#m)   V(E)
E |----0----|----2----|----4----|----0----|
B |----2----|----3----|----5----|----0----|
G |----2----|----4----|----6----|----1----|
D |----2----|----4----|----6----|----2----|
A |----0----|----2----|----4----|----2----|
E |----0----|----x----|----x----|----0----|

สรุปว่า ในเมโลดี้เดียวกัน สามารถส่งคอร์ดได้ 4 แบบ

นอกจากนี้ ยังสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้ครับ
Model 1:|I - - - |II7 – V7 - |I – iii - |V7 - - - |
Model 2:|I- iii- |II7 – V7 - |I – iii - |V7 - - - |
Model 3:|I - - - |ii – iii - |V  – I  - |V7 - - - |
Model 4:|I- iii- |ii – iii - |V – iii - |V7 - - - |
Model 5:|I- iii- |ii – vi  - |V  – I  - |V7 - - - |
------------------------------------------------------------------------------------------
อธิบายข้อที่ 4
การส่งคอร์ดในบางครั้ง เพื่อที่จะทำให้สวยงาม หรือกำหนดอารมณ์เพลง
เราก็สามารถเอาคอร์ดนอกสเกลมาใช้แทนกันได้
ลองเอาคอร์ด 7 ในสเกล ให้ติดแฟลตต่ำลงครึ่งเสียง (1 แฟลต)
กลายเป็นคอร์ดนอกสเกล เรียกว่าคอร์ดแฟลต7 (bVII)
มันมีโน๊ต 2 ตัว (b7 2 4) ที่เหมือนกับคอร์ด V7 (5 7 2 4)

เราสามารถนำไปใช้ในงานเพลงได้ จากเดิม I-V-I-V กลายเป็น I-bVII-I-V

   I(A)      bVII(G)   I(A)     V(E)
E |----5----|----3----|----5----|----0----|
B |----5----|----3----|----5----|----0----|
G |----6----|----4----|----6----|----1----|
D |----7----|----5----|----7----|----2----|
A |----7----|----5----|----7----|----2----|
E |----5----|----3----|----5----|----0----|
------------------------------------------------------------------------------------------
เพลงอ้างอิงที่ใช้คอร์ด แฟลต7 (bVII)ได้แก่
เพลง แม่ - ของ โลโซ
เพลงจีน เชียน เหยีน ว่าน หยี - ของ เติ้ง ลี่ จิน
Bee Gees-To love somebody
The Beatles-Hey Jude, hello Goodbye

อีซี่คอร์ด และ เรียนกีต้าร์ด้วยเพลง
รายละเอียดอยู่ที่ท้ายบท
ขอให้สนุกกับทางเดินคอร์ด
ขอบคุณทุกคนนะครับ

Easy Chord-3 วิธีการตีคอร์ดหลักๆ

ขออภัย กำลังดำเนินการอยู่

Followers

About Me

My photo
Learn Thai through Song, Learn Guitar through Song, ขายเพลงที่แต่งแล้ว สอนกีตาร์ สอนเรียบเรียงเพลงด้วยคอมพิวเตอร์มิวสิค Cakewalk Sonar กีตาร์ E-Book บล็อกเสียงออนไลน์ พูดได้หลายภาษา. 音乐家, 教电脑数位音乐编曲 Cakewalk Sonar, 吉他在线教学有声电子书, 唱歌学泰语。能说多种语言。